ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน '

    ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน   หมายถึง (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ชักเนื้อ

    ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่าจํานวนที่เขากําหนดไว้ แล้วเรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม.

  • ชักใบให้เรือเสีย

    (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.

  • ชักแป้งผัดหน้า

    น. ท่าละครท่าหนึ่ง.

  • ชักพระ

    น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.

  • ชักแม่น้ำทั้งห้า

    (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

  • ชักยันต์

    ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง บริกรรมคาถา; ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.

  • ชักเย่อ

    [ชักกะ] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒